เมนู

คนนี้จึงชื่อว่า อสุโรปะ (ปากร้าย). จริงอยู่ ในเวลาที่บุคคลผู้ดุร้ายโกรธแล้ว
ขึ้นชื่อว่า คำพูดที่บริบูรณ์ ย่อมไม่มี ถึงหากจะมีแก่บางคน ข้อนั้นก็ไม่เป็น
ประมาณ.
อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนเช่นนั้น ชื่อว่า อสุโรปะ (ความ
ไม่สุภาพ) เพราะให้เกิดน้ำตาโดยการไหลออกแห่งน้ำตา ข้อที่ว่านั้น ไม่ใช่เหตุ
ได้กล่าวแล้วในหนหลัง เพราะแม้โสมนัสก็ทำให้น้ำตาเกิดได้.
สภาวะที่ชื่อว่า อนัตตมนตา (ความไม่มีใจแช่มชื่น) เพราะอรรถว่า
ความเป็นผู้ไม่มีใจเป็นของตน เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้มีใจเป็น
ของตน แต่เพราะความไม่มีใจแช่มชื่นนั้น เป็นของจิตเท่านั้น ไม่เป็นของ
สัตว์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จิตฺตสฺส (ของจิต) ดังนี้. คำที่เหลือในอกุศล
จิตดวงที่ 9 นี้ และในสังคหวาร ในสูญญตวาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในหนหลังนั่นแล.
อกุศลจิตดวงที่ 9 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 10


อกุศลจิตดวงที่ 10 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ถูกคนอื่น ๆ ให้เกิดอุตสาหะ
บ้าง ผู้ถูกคนอื่น ๆ ตักเตือนให้นึกถึงความผิดบ้าง ตนเองนั่นแหละนึกถึง
ความผิดของคนอื่น ๆ แล้วโกรธบ้าง เพราะความที่อกุศลจิตนี้เป็นไปกับการ
ชักจูง. แม้ในอกุศลจิตนี้ก็มี 29 บทตามลำดับบท. เพราะถือเอาบทที่ยังมิได้
ถือเอาจึงเป็น 14 บทเท่านั้น. แต่เพราะในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ย่อมได้
แม้ถีนะและมิทธะ ฉะนั้นในอกุศลจิตดวงนี้จึงเว้นอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ
หรือเว้นซึ่งธรรม 6 เหล่านี้ คือองค์ธรรมที่เหมือนกัน 4 และถีนมิทธะ ในเวลาที่

อิสสาเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะเป็นเยวาปนกธรรม 7 ข้อ ๆ กับข้อใดข้อหนึ่งใน
บรรดาธรรมมีอิสสาเป็นต้นนั้นเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน (พร้อมกัน). คำที่เหลือ
ทั้งหมดทุกวาระเป็นเช่นกับอกุศลจิตดวงที่ 9 ทั้งนั้น. ก็ในโทมนัสจิตทั้ง 2 นี้
ย่อมได้สหชาตาธิปติอย่างเดียว ไม่ได้อารัมมณาธิปติ. เพราะบุคคลโกรธแล้ว
ย่อมไม่ทำอารมณ์อะไร ๆ ให้หนัก (เป็นอธิบดี) ได้ ฉะนี้แล.
อกุศลจิตดวงที่ 10 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 11


อกุศลจิตดวงที่ 11 ย่อมเกิดขึ้นในเวลาความสงสัยเป็นไปแก่บุคคลผู้
วางเฉยด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ทั้ง 6. ในการกำหนดสมัยของอกุศลจิต
ดวงที่ 11 นั้น บทว่า วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ (สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา) ไม่ใช่
บทที่เกิดก่อน เนื้อความแห่งอกุศลจิตนั้นว่า ที่ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุต
เพราะอรรถว่า สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา. ในธัมมุทเทส บทว่า วิจิกิจฺฉา โหติ
(วิจิกิจฉาย่อมมี) ดังนี้เท่านั้นแปลกกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในวิจิกิจฉานั้น ต่อไป
สภาวธรรมที่ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากความแก้ไข
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเมื่อคิดสภาว-
ธรรมย่อมยุ่งยาก คือย่อมลำบาก.
วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ (สํสยนลกฺขณา) มีความ
หวั่นไหวเป็นรส (กมฺปนรสา) มีการตัดสินใจไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน (อนิจฺ-
ฉยปจฺจุปฏฺฐานา)
หรือว่า มีการถือเอาอย่างเดียวไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน